วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

สีประจำเดือน สามารถบอกถึงสุขภาพของภายในร่างกายได้

รู้หรือไม่ว่าสีของประจำเดือนในแต่ละเดือนที่ออกมาจากร่างกายเรา สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพของระบบภายในเราได้ ถ้าเราลองสังเกตุดีๆแล้วเราจะรู้ว่า สีของประจำเดือนในแต่ครั้งที่ออกมานั้น บางเดือนจะมีสีเข้ม บางเดือนจะมีสีอ่อน บางทีมาน้อย บางทีมามาก หรือบางครั้งอาจไม่มา ขาดหายไปบ้างในบางเดือน 


วันนี้เราเลยจะมาอธิบายเกี่ยวกับสีของประจำในแต่ละสีว่า มีสีไหนที่แสดงถึงสุขภาพร่างกายที่ปกติ สีไหนที่แสดงออกมาว่าร่างกายของเรามีปัญหา แล้วสาเหตุของสีประจำเดือนในแต่ละที่เปลี่ยนแปลงนั้น เกิดขึ้นเพราะจากสาเหตุอะไร แล้วจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรให้ร่างกายเรากลับมาดี


ประจำเดือนสีดำคล้ำ

ประจำเดือนสีน้ำตาลหรือสีดำคล้ำไม่ใช่เรื่องผิดปกติ  หลายคนอาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสีของประจำเดือน จึงคิดไปว่าประจำเดือนสีดำคือเลือดเสีย ทั้งที่จริงแล้วการที่เลือดประจำเดือนเป็นสีดำคล้ำ เป็นเพราะเลือดนั้นไปตกค้างอยู่ในบริเวณช่องคลอดเป็นเวลานาน เลยทำให้สีเลือดมีสีที่เข้มขึ้นนั้นเอง เลือดที่เป็นสีดำคล้ำมักเกิดขึ้นตอนประจำเดือนเริ่มมาใหม่ๆ หรือช่วงที่ประจำเดือนใกล้จะหมด เพราะเลือดที่ไหลออกมาในช่วงนี้จะออกมาน้อยและค่อยๆไหลซึมออกมา ทำให้เกิดการติดค้างอยู่ในช่องคลอดนั้นเอง 

แต่ถ้าสีของประจำเดือนเป็นสีเข้มแบบนี้เกิน 3 วัน แสดงว่ามีปัญหาเกี่ยวกับผังผืดภายใน พังผืดภายในอาจเกิดขึ้นจากโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ 

หลักการรักษา : พังผืดภายในช่องท้อง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของพังผืด ขนาดความมากน้อยที่เกิดและความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้น ในกรณีที่อาการไม่รุนแรง อาจไม่ต้องผ่าตัดรักษา แต่ในรายที่อาการุนแรง จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดรักษา การผ่าตัดทำได้สองวิธี คือ ผ่าตัดโดยการใช้กล้อง และผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องปกติ


ประจำเดือนสีแดงเข้ม

อาจเกิดจากร่างกายได้รับอากาศที่ร้อนจัด หรืออาจเกิดจากการกินอาหารทอดหรือมันสูง ทำให้เกิดการหลั่งของเลือดที่มาเร็วขึ้น แต่ถ้าหากประจำเดือนนี้ยังออกมามากและเป็นสีแดงเข้มนานกว่า 4-5 วัน และมีอาการปวดท้องร่วมอยู่ อาจเป็นเพราะอุ้งเชิงกรานเกิดการอักเสบ หรือมีซีสต์และผังผืดในรังไข่ ควรไปปรึกษาแพทย์ หรือขอคำแแนะนำ

หลักการรักษา :  ควรดื่มน้ำในอุณหภูมิปกติอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ออกกำลังกายบ่อยๆ และเลือกทานอาหารที่ช่วยคล้ายร้อย


ประจำเดือนสีแดงอ่อน

เกิดจากการมีเลือดและมีสารอาหารในเลือดน้อย ส่งผลให้กระเพาะอาหาร ตับ และไต ทำงานผิดปกติซึ่งตับมีหน้าที่ส่งเลือดไปตามอวัยวะต่างๆ หากตับอ่อนแอก็จะทำให้การทำงานทำได้ไม่ดี ส่งผลให้ประจำเดือนมาน้อยกระปริบกระปอย ทำให้ไม่อยากอาหาร หรือรู้สึกท้องอืดง่าย

ประจำเดือนสีแดงอ่อน / มาน้อย อาจเกิดจากการมีปัญหาเกี่ยวกับเลือด เช่น เลือดจาง เลือดน้อย รวมอยู่ด้วย
ประจำเดือนสีแดงอ่อน มามาก / เกิดจากเลือดทำงานติดขับ การไหลเวียนของเลือดไม่ดี

หลักการรักษา : ทานอาหารเช้าเป็นประจำทุกวัน โดยเลือกทานอาหารที่มีไขมันต่ำ ย่อยง่าย นอกจากนี้ควรพักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอควบคู่ไปด้วย


ประจำเดือนขาดหาย

  • อาจเกิดจากความเครียด เกิดความผิดปกติของทางด้านอารมณ์ ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน ทำให้ประจำเดือนเกิดความคลาดเคลื่อน 
  • มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น ต่อมไทรอยด์มีปัญหาทำให้การผลิตฮอร์โมนน้อยเกินไป
  • การตั้งครรภ์ จะทำให้ไม่มีประจำเดือนมาจนกว่าจะคลอดลูกเสร็จ 
  • ยาคุมกำเนิดบางตัวกินแล้วอาจจะมีผลข้างเคียง ทำให้ประจำเดือนขาดไป
  • เกิดอาการผิดปกติของรังไข่ ที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ
หลักการรักษา : ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเคลียดด้วยการทำกิจกรรมต่างๆ และปรึกษาแพทย์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น